ประเพณีประจำจังหวัดพิจิตร



ประเพณี/วัฒนธรรม/กิจกรรมของจังหวัดพิจิตร



1.การแข่งขันเรือยาวประเพณี

         จัดเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และจัดมานานแล้ว มีเรือเข้าร่วมการแข่งขันมากที่สุด เนื่องจากจังหวัดพิจิตรมีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน อีกทั้งมีน้ำไหลหลากเป็นประจุกปีตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน วัดต่างๆที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำและมีเรือประจำวัด จะจัดให้มีการแข่งขันเรือยาวพร้อมจัดงานปิดทองไหว้พระไปด้วย เรือที่จัดให้มีการแข่งขัน ได้แก่ เรือยาวที่มีขนาดฝีพายต่างๆ เรือบด เรือหมู เรืออีโปง เรือเผ่นม้า ฯลฯ บางวัดจดงานแข่งเรือฉลององค์กฐินประจำปีไปด้วยจังหวัดพิจิตรมีงานประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกำหนดแข่งขันในวันเสาร์และวันอาทิตย์แรกของเดือนกันยายน เป็นประจำทุกปี โดยจัดที่วัดท่าหลวง พระอารามหลวง อำเภอเมืองพิจิตรซึ่งมีประวัติความเป็นมาดังนี้

            การแข่งขันเรือยาวประเพณีของวัดท่าหลวงฯ เริ่มจัดเมื่อประมาณ พ.ศ.2450 โดยพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวงฯ และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตรเป็นผู้ริเริ่มแล้วได้จัดติดต่อกันเรื่อยมาจนกระทั่งถึงสมัยของพระฑีฆทัสสีมุนีวงศ์ (ไป๋ นาควิจิตร) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าหลวงและเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร จึงได้กำหนดจัดงานแข่งขันเรือยาวตามวันทางจันทรคติ ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ต่อมาน้ำในแม่น้ำน่านแห้งเร็วไม่เหมาะต่อการแข่งเรือ จึงเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับช่วงงานปิดทองไหว้พระนมัสการหลวงพ่อเพชรเดิมกรรมการวัดเป็นผู้จัดทำรางวัลการแข่งขันส่วนใหญ่เป็นของอุปโภคบริโภค เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ผ้าขาวม้า น้ำมันก๊าด ส่วนรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศจะได้ผ้าห่มหลวงพ่อเพชรไปครอง ซึ่งถือว่าเป็นศิริมงคลกันเรือและเทือกเรือ (ฝีพาย)โดยนำไปพันไว้ที่โขนเรือของตนภายหลังคณะกรรมการพิจารณาว่า ผ้าห่มหลวงพ่อเพชรเป็นของสูงการนำผ้าไปพันบนโขนเรือไม่เหมาะสมจึงยกเลิก แล้วจัดธงที่มีรูปหลวงพ่อเพชรไปเป็นรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศแทน ต่อมาก็ทำธงมอบให้แก่เรือที่ร่วมเข้าแข่งขันทุกลำ



2.งานประเพณีกำฟ้า



         งานประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านอีกอย่างหนึ่งของลาวพวนบ้านป่าแดง อำเภอตะพานหิน ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการบูชาหรือเคารพเทวดาฟ้าดิน เชื่อกันว่าเมื่อได้ทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีบูชาขอพรจากเทพยดาผู้รักษาฟ้าแล้วจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เชื่อกันว่าเสียงฟ้าร้องคือ “สัญญาณฟ้าเปิดประตูน้ำ” เพื่อให้ชาวนา ชาวไร่ มีน้ำประกอบอาชีพเกษตรกรรม การพยากรณ์เสียงฟ้าร้องของลาวพวนมีดังนี้

            เสียงฟ้าร้องมาจากทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พยากรณ์ว่าฝนจะดีมีน้ำเพียงพอ พืชพันธุ์ธัญญาหารสมบูรณ์ ประชาชนจะมั่งมีศรีสุข ถ้าฟ้าร้องดังมาจากทิศใต้ ฝนจะตกน้อย เกิดความแห้งแล้งพืชผลได้รับความเสียหายถ้าฟ้าร้องเสียงดังมาจากทิศตะวันออก ฝนจะตกปานกลาง พืชในที่ลุ่มได้ผลดี พืชในที่ดอนจะเสียหาย ถ้าเสียงฟ้าร้องมาจากทิศตะวันตกจะเกิดความแห้งแล้งข้าวยากหมากแพงจะรบพุ่งฆ่าฟันกัน


3.พิธีแห่เจ้าพ่อแก้ว

         จะจัดขึ้นในงานวันที่สอง ซึ่งมักจะเป็นวันเสาร์ และเป็นวันเชิญเจ้าพ่อออกจากศาลมาสู่ศาลชั่วคราวที่สนามหน้าโรงงิ้ว “ผู้รู้” คืออาแป๊ะหยูจะเป็นผู้หาฤกษ์ยามให้ เล่ากันว่าเคยมีผู้ฝืนฤกษ์ ทำให้เกิดไฟไหม้ตลาดจึงเป็นเรื่องที่ถือกันมากในเรื่องนี้เมื่อได้ฤกษ์จะมีพิธีการจุดธูป จุดประทัดบูชาเจ้าพ่อ แล้วบอกกล่าวอัญเชิญ จากนั้นก็จะอุ้งองค์เจ้าพ่อขึ้นประทับยังเกี้ยว บรรดาผู้หามเกี้ยวก็จะวิ่งพาเกี้ยวออกจากศาล แล้วแห่ไปตามถนนสายต่างๆพร้อมขบวนแห่ซึ่งมีล่อโก๊ว สิงโต เองกอ ติดตามด้วยขบวนแห่เปีย (ธง) ของสาวงามวัยแรกรุ่นแต่งกายอย่างสวยงาม เป็นการประกวดประขันกันไปในตัว นอกจากนี้ยังมีขบวนหาบกระเช้าของเด็กเล็กวัยอนุบาลซึ่งแต่งตัวอย่างน่ารักน่าเอ็นดู พร้อมกันนี้ก็ยังมีขบวนฟ้อนรำ หรือกิจกรรมเข้าจังหวะของนักเรียนโรงเรียนต่างๆ ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลประมาณ 5 – 6 โรง เข้าร่วมขบวนแห่ด้วยทุกปีขบวนหามเกี้ยวเจ้าพ่อผ่านไปถึงหน้าบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะออกมาจุดธูปบูชากลิ่นไม้จันทร์และควันธูปจะหอมฟุ้งตลบอบอวนไปทั่ว เสียงประทัดจะดังรัวอยู่มิได้ขาด ขบวนฟ้อนรำของนักเรียนจะหยุดแสดงให้ชมเป็นระยะ ตามสี่แยกหรือจุดที่สำคัญ  ส่วนขบวนสิงโต ล่อโก๊ว ก็จะรัวฆ้อง กลอง ด้วยจังหวะที่เร้าใจ เข้าร้านโน้นออกร้านนี้ พร้อมกับรับ “อั้งเปา” มากบ้างน้อยบ้างติดมือเป็นรางวัล เพราะเขาถือว่าขบวนเหล่านี้เชิญเซียนหรือเทวดาเข้าบ้านนำสิริมงคลและความสวัสดีมีชัยมาให้ ทุกบ้านจึงมีแก่ใจต้อนรับไม่รังเกียจขบวนแห่เจ้าพ่อจะแห่ตั้งแต่เช้าเข้าไปยังตรอก ซอกซอยและถนนเกือบจะทั้งตลาด จนเกือบประมาณพบค่ำก็เป็นเวลาได้ฤกษ์ถึงศาลชั่วคราว เมื่อจะเชิญเจ้าพ่อเข้าประทับยังศาล ล่อโก๊ว สิงโต เองกอ ก็จะบรรเลงและแสดงถวายเจ้าพ่ออย่างเอิกเกริก พร้อมกับเสียงประทัดก็ดังรัวขึ้นอย่างหูดับตับไหม้อีกครั้งหนึ่ง เป็นอันเสร็จพิธีแห่เจ้าพ่อแต่เพียงนี้ รวมเวลาแล้วตลอดทั้งวันผู้เข้าร่วมแห่จะทั้งสนุกสนาน ทั้งเหน็ดเหนื่อยไปตามๆ กัน แต่ทุกคนก็อิ่มใจ ภูมิใจ และสุขใจเวลากลางคืนมีมหรสพให้ชมฟรี และเกมสนุกที่ต้องควักเงินจ่ายเป็นค่าบริการ เช่น ม้าหมุน ชิงช้าสวรรค์ รถซิ่ง ยิงเป้า แสดงประชันกันทั้งแสงและเสียง ใครใคร่ซื้อสินค้าอะไรจะรับประทานอะไรก็เลือกซื้อได้ตามอัธยาศัย ทางด้านศาลเจ้านั้น บรรดาเท่านั้งก็จะเริ่มประมูลของ ส่งเสียงประกาศแข่งกับเสียงงิ้วเป็นที่สนุกครึกครื้น


4.ประเพณีสงกรานต์พ่อปู่ บูชาหลักเมือง

         อุทยานเมืองเก่า ต.โรงช้าง อ.เมืองพิจิตร     เริ่มครั้งแรก ชื่องานว่า     “สรงน้ำพ่อปู่ บูชาหลักเมือง”   จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๘   เมษายน ๒๕๓๘   โดยมีนายสมทบ ศุภศรี ขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองพิจิตร   เป็นผู้ริเริ่มในการจัดงานสรงน้ำพ่อปู่ (พระยาโคตมเทวราช) ในเทศกาลสงกรานต์ประจำปี ซึ่งถือว่าพ่อปู่ คือเทพเทวาที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดพิจิตร ที่ชาวพิจิตรให้ความเคารพและเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ    ทุกปีของวันที่ ๙ เมษายน ก่อนถึงวันสงกรานต์



5.งานประเพณี วันแตงโมโชว์กรงนก

         จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมของชาวบ้านอำเภอวังทรายพูน ซึ่งร้อยละ ๘๐ มีอาชีพทำนา ในฤดูแล้งจะปลูกพืชทนแล้ง ได้แก่ แตงโม อีกทั้งชาวบ้านยังมีความสามารถด้านหัตถกรรมทำกรงนก เป็นสินค้าส่งออกไปต่างจังหวัด และต่างประเทศช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น